Oct 31, 2009

National Corn and Sorghum Research Center

National Corn and Sorghum Research Center
Pak Chong, Nakhon Ratchasima


The National Corn and Sorghum Research Center was established in 1969 with its total area of 2,589 rais.

When the Inter-Asian Corn Program was mouved to locate in Thailand, the National Corn and Sorghum Research Program was organized in late 1966 by the cooperative efforts of the Ministry of Agriculture, Kasetsart University and the Rockefeller Foundation at Suwanwajokkasikit Student Training Center.

In 1969, the National Corn and Sorghum Research Center was Officially founded. In 1989, the National Corn and Sorghum Research Center was reshuffled to be under the Kasetsart University Research and Development Institute (KURDI) until 1992. After the establishment of the Inseechandrasatitya Institute for Crops Research and Development (IICRD) until 1992, The National Corn and Sorghum Research Center was transferred to the IICRD with the same responsibility and status.

Mission of The Research Center

To research on corn, sorghum and other crops in corn and sorghum cropping systems.
To provide training for bachelor degree student from Kasetsart University and other institutes including student exchange program.
To supply academic services and transfer technology to public and private sectors.
To serve research services and facilities to faculty members, researcher and students from Kasetsart University and other institutes from both public and private agencies.
To produce and distribute of high quality seeds and planting materials of the mandate crops to public and private sectors.

The Research Center composed of 5 official units : Student Training unit, Academic Services and Technology Transfer unit, Research Service unit, Seed Production and Multiplication unit.

The National Corn and Sorghum Research Center located on Friendship (Mitrapap) road about 155 km northeast of Bangkok in Pakchong district, Nakhonratchasima province.





ศูนย์วิจัยข้าวโพดและข้าวฟ่างแห่งชาติ (ไร่ข้าวโพดสุวรรณ)
อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา

ในปี พ.ศ. 2508 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้รับมอบไร่ "ธนะฟาร์ม" ซึ่งเดิมเป็นไร่ของ ฯพณฯ จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ อดีตนายกรัฐมนตรี จากกรมธนารักษ์ กระทรวงการคลัง ซึ่งมีพื้นที่ประมาณ 2,500 ไร่ จึงได้จัดตั้งเป็นสถานีฝึกนิสิตเกษตร ชื่อว่า " สถานีฝีกนิสิตเกษตรสุวรรณวาจกกสิกิจ" เพื่อเป็นเกียรติแก่หลวงสุวรรณวาจกกสิกิจ ปฐมอธิการบดีของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โดยมี ดร.สุวรรณ เกษตรสุวรรณ เป็นหัวหน้าสถานีคนแรก และให้สังกัดอยู่กับคณะเกษตร

ต่อมาในปี พ.ศ. 2509 มูลนิธิร๊อกกี้เฟลเลอร์ ได้ให้ความช่วยเหลือโครงการข้าวโพดและข้าวฟ่างในประเทศแถบเอเชีย (Inter-Asian Corn and Sorghum Program) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จึงได้ร่วมมือกับกรมกสิกรรม(กรมวิชาการเกษตรในปัจจุบัน) ดำเนินการวิจัยและพัฒนาข้าวโพดและข้าวฟ่างภายใต้ความช่วยเหลือของมูลนิธิร๊อกกี้เฟลเลอร์โดยใช้พื้นที่ของสถานีฝึกนิสิตเกษตร สุวรรณวาจกกสิกิจแห่งนี้เป็นศูนย์กลางการปฏิบัติงาน ซึ่งต่อมาได้จัดตั้งขึ้นเป็น ศูนย์วิจัยข้าวโพดและข้าวฟ่างแห่งชาติ เมื่อวันที่ 22 ตุลาคม 2512 โดยสังกัดอยู่กับสำนักงานอธิการบดี มีนายอัญเชิญ ชมภูโพธิ์ ซึ่งเป็นหัวหน้าสถานีฯ ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการศูนย์วิจัยข้าวโพดและข้าวฟ่างแห่งชาติด้วย

ในปี พ.ศ. 2522 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้จัดตั้งสถาบันวิจัยและพัฒนาแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ขึ้น ทั้งศูนย์วิจัยข้าวโพด และข้าวฟ่างแห่งชาติ และ สถานีฝึกนิสิตเกษตรสุวรรณวาจกกสิกิจได้โอนย้ายมาสังกัดสถาบันวิจัยและพัฒนาแห่งมหาวิทยาลัยเกษตร ศาสตร์ สถานีฝึกนิสิตเกษตรสุวรรณวาจกกสิกิจ ได้เปลี่ยนชื่อเป็น สถานีวิจัยสุวรรณวาจกกสิกิจ เพื่อให้สอดคล้องกับภารกิจที่เพิ่มขึ้น คือการวิจัยเพื่อพัฒนาการผลิตพืชไร่เศรษฐกิจของประเทศ แต่ก็ยังคงงานฝึกนิสิตซึ่งเป็นภารกิจหลักไว้

ต่อมาในปี พ.ศ. 2535 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้จัดตั้งสถาบันอินทรีจันทรสถิตย์เพื่อการค้นคว้าและพัฒนาด้านพืชศาสตร์ ซึ่งเป็นสถาบันวิจัยเฉพาะทางขึ้น ทั้งศูนย์วิจัยข้าวโพดและข้าวฟ่างแห่งชาติ และ สถานีวิจัยสุวรรณวาจกกสิกิจ ก็ได้โอนย้ายมาสังกัดสถาบันอินทรีจันทรสถิตย์ฯ

ศูนย์วิจัยข้าวโพดและข้าวฟ่างแห่งชาติ ตั้งอยู่เลขที่ 298 บ้านปางอโศก ตำบลกลางดง อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา ริมถนนมิตรภาพ หลักกิโลเมตรที่ 155

Source : National Corn and Sorghum Research Center

Oct 30, 2009

The ceremony on Chulalongkorn Day 2009 in Korat

On the 23rd of October every year is Chulalongkorn Day or generally called Piyamaharaj Day held to commemorate the death of King Chulalongkorn the Great (Rama V) who passed away in 1910.

In Korat City, the ceremony held in the morning at Chulalongkorn Statue, situated front of Nakhon Ratchasima Provincial Hall. Nakhon Ratchasima Governer, local government officials, and Korat people were invited to lay a wreath at the foot of the statue.
พิธีวางพวงมาลา ถวายราชสักการะ เนื่องใน วันปิยมหาราช 2552 เมืองโคราช

ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา เหล่าข้าราชการ และชาวโคราช ประกอบพิธีวางพวงมาลา ถวายราชสักการะ รัชกาลที่ 5 เนื่องในวันปิยมหาราช ( 23 ตุลาคม 2552 ) ณ บริเวณพระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว หน้าอาคารศาลากลางจังหวัด

Nakhon Ratchasima Governor

Oct 27, 2009

Pak Thong Chai - Bangkok (by bus)

There are buses run directly from Pak Thong Chai district to Bangkok. No need to travel from Pak Thongchai to Korat City (30 kms) to get on the bus to Bangkok. I used to travel by bus between Pak Thong Chai - Bangkok (Mochit), it's VIP bus, took around 3 hours. There're around 5-6 buses run each day. Quite convenient for people in Pak Thongchai.
For traveling from Bangkok, you can find a ticket at ticket counter in Mochit Bus Terminal but not the same counter of the bus to Korat.
เดินทางระหว่าง กรุงเทพ - ปักธงชัย ด้วยรถโดยสารปรับอากาศชั้น 1
ใครที่อยู่ปักธงชัยคงทราบดี หากต้องการจะเดินทางไปกรุงเทพมหานครด้วยรถโดยสารปรับอากาศชั้น 1 ไม่ต้องเดินทางเข้าไปในตัวเมืองโคราชให้เสียเวลา รถปรับอากาศชั้น 1 ของหลายบริษัท เช่น ราชสีมาทัวร์ โคราชพัฒนา ได้สลับเปลี่ยนกับแต่ละรอบ เดินทางออกจาก จุดจอดรถในตัวอำเภอปักธงชัย มุ่งหน้าสู่กรุงเทพมหานครโดยตรง ออกจากปักธงชัย เลี้ยวออกเส้นทางเลี่ยงเมืองไปบรรจบที่ถนนมิตรภาพบริเวณวงแหวนในเขตอำเภอสีคิ้ว จากนั้นวิ่งเส้นทางเหมือนรถโดยสารที่ออกจากเมืองโคราช รถโดยสารปรับอากาศนี้ให้บริการหลายรอบต่อวัน หากจะเดินทางจากกรุงเทพมาปักธงชัย สามารถซื้อตั๋วได้ที่หมอชิตโดยมีช่องขายตั๋วสำหรับรถโดยสารไปปักธงชัยแยกต่างหากจากช่องขายตั๋วไปโคราช
นอกจากรถโดยสารปรับอากาศชั้นหนึ่ง ยังมีรถตู้ปรับอากาศที่วิ่งเส้นทางกรุงเทพ-ปักธงชัย แต่วิ่งคนละเส้นทาง โดยรถตู้ปรับอากาศจะวิ่งผ่านเส้นทางนครนายก กบินทร์บุรี วังน้ำเขียว ก่อนสิ้นสุดปลายทางที่ปักธงชัย โดยเดินทางจากกรุงเทพ สามารถขึ้นรถได้ที่บริเวณอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ เส้นทางนี้เหมาะมากสำหรับผู้ต้องการเดินทางระหว่างกรุงเทพ-วังน้ำเขียว
Mochit Bus Terminal in Bangkok, I was waiting for the bus to leave.

Along the way...

Chok Chai Farm
Sikhiu and Lam Taklong View

Central of Pak Thong Chai district..

Oct 19, 2009

Korat Vegetarian Festival 2009

The Vegetarian Festival or "Kin-Jay" is an annual event held during the ninth lunar month of the Chinese calendar. In 2009, the event held during 18 - 26 Oct 2009. At this period, people who take part will be strictly in a 10-day vegetarian, diet for the purposes of spiritual cleansing and merit-making.

In Korat, you can find vegetarian food in many restaurants, food courts in department stores, or even at food stalls by side-street, easily to be noticed by small yellow flags with the red letters decorated at the place.

All pictures taken at the Event Hall, The Mall Nakhon Ratchasima during the vegetable festival 2009.


ในช่วงเทศกาลกินเจ เดือน 9 ในสถานที่ขายอาหารหลายๆ แห่งในโคราช เราจะเห็น ธงสีเหลือง เขียนด้วยตัวอักษรสีแดง "เจ" ตามร้านขายอาหารเจ คำนี้จริงๆแล้วอ่านว่า "ไจ" (เจ) แปลว่า "ไม่มีของคาว" ชาวจีนถือว่าสีแดงเป็นสีแห่งสิริมงคลแก่ชีวิต สีเหลืองเป็นสีของผู้ทรงศีล ดังนั้นผู้ตั้งใจถือศีลบำเพ็ญตนให้บริสุทธิ์ ตัวอักษรนี้ย่อมเป็นเครื่องหมายเตือนสติให้ระลึกไว้เสอมว่า การกินเจ งดเว้นเนื้อสัตว์ ของคาว คือ การปฏิบัติธรรม รักษาศีลของความเป็นมนุษย์ เป็นการเจริญมหาเมตตากรุณาธรรม จะนำมาซึ่งความเป็นสิริมงคลแก่ตนเอง

ภาพทั้งหมดนี้เป็นบรรยากาศเทศกาลกินเจที่เดอะมอลล์ นครราชสีมา


"เจ" ในภาษาจีน มีความหมายทางพุทธศาสนาฝ่ายมหายานว่า "อุโบสถ"

คำว่า "กินเจ" ความหมายแท้จริง คือ การรับประทานอาหารก่อนเที่ยงวัน ดังเช่นที่ชาวพุทธในประเทศไทยถือ "อุโบสถศีล" หรือ "รักษาศีล 8" จะไม่รับประทานอาหารหลังจากเที่ยงวัน แต่เนื่องจากการถืออุโบสถศีล ของชาวพุทธฝ่ายมหายานไม่กินเนื้อสัตว์ จึงนิยมเรียก "การไม่กินเนื้อสัตว์" ไปรวมกันคำว่า "กินเจ" ซึ่งเป็นการถือศีลไปด้วย

ในปัจจุบันผู้ที่รับประทานอาหารทั้ง 3 มื้อ แต่ไม่กินเนื้อสัตว์ก็ยังคงเรียกว่า "กินเจ" ดังนั้น ความหมายของ "คนกินเจ" มิใช่เพียงแต่ไม่กินเนื้อสัตว์ แต่คนที่กินเจ ยังต้องดำรงตนอยู่ในศีลธรรมอันดีงาม มีความบริสุทธิ์สะอาด งดงามทั้งกาย วาจา ใจ เป็นการถือศีลบำเพ็ญธรรมไปด้วยพร้อมกัน คำว่า "ถือศีลกินเจ" จึงนับว่ามีความหมายสมบูรณ์ครบถ้วนอยู่ในตัวเอง

Oct 12, 2009

The day in memory, Korat people sang together the National Anthem

Over 10,000 people get together On Friday, October 9, 2009 in the area around Thao Suranaree Statue, central of Korat City.

I was one of them, we were there to sing the National Anthem together. It was very impressed the moment we sang the National Anthem together and small Thai flag in our hand. A very precious moment even through the National Anthem is only few minutes long. People have been gathering since 4 PM and sang the National Anthem together at 6 PM.

The National Anthem I heard that day was so different from other days in my life!

Singing National Anthem was one activity in the United and Strong Thai Project organised by Thai Government.

Thai people in all provinces will come out to sing the National Anthem together at 6 PM The activities held in each province alphabetically in Thai, it started since 20 September 2009 and will be continued till 5 December 2009, The King's Birthday.

The events broadcast live at 6 PM and few minutes before each day’s broadcast, a documentary shown featuring the history, culture, attractions, and a bit of life of people in that particular province.

ถึงเวลา.. ชาวโคราชร้องเพลงชาติร่วมกันแล้ว...

เมื่อวันศุกร์ที่ 9 ตุลาคม 2552 ชาวโคราชเรือนหมื่นก็ได้มารวมตัวกันที่บริเวณอนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี เราก็เป็นหนึ่งในนั้น เราเริ่มรวมตัวกันตั้งแต่ 16.00 น. ธงชาติไทยในมือทุกคนโบกปลิวไสว ใช่แล้ววันนี้เป็นวันที่เรา...ชาวโคราช..จะร้องเพลงชาติร่วมกันต่อหน้าคุณย่าโม ให้คนไทยทั้งประเทศได้ชมกัน..


การร้องเพลงชาติของประชาชนในแต่ละจังหวัดนี้ เป็นกิจกรรมหนึ่งในโครงการ “ไทยสามัคคี ไทยเข้มแข็ง” ซึ่งเป็นกิจกรรมที่เปิดโอกาสให้ทุกคนได้แสดงออกถึงความรัก ความสามัคคี ของคนในชาติ โดยใช้เพลงชาติไทยเป็นสื่อในการแสดงออกถึงความรัก ความสามัคคี โดยร่วมกันร้องเพลงชาติไทยในเวลา 18.00 น. ซึ่งเรียงลำดับจังหวัดตามตัวอักษร และสิ้นสุดจังหวัดสุดท้าย คือ กรุงเทพมหานคร สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทยถ่ายทอด และเชื่อมสัญญาณไปยังสถานีโทรทัศน์ และสถานีวิทยุ ถ่ายทอดพร้อมกัน
.

.

วันศุกร์ที่ 9 ตุลาคม 2552 เป็นวันดีของพี่น้องชาวโคราช พ่อเมืองประจักษ์ สุวรรณภักดี ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา พร้อม พ่อ แม่ พี่น้อง ชาวโคราช ได้ร่วมกันร้องเพลงชาติ

นับเป็นความประทับใจหนึ่ง ของครั้งหนึ่งในชีวิต ชาวโคราชคนไหนไปร้องเพลงชาติในวันนั้น ...คงบอกได้ว่า..เพลงชาติวันนั้นแตกต่างจากวันอื่นๆ ที่เคยได้ยินมาอย่างไร..


.


.
Here's the event video clip...