Nov 13, 2009

Dan Kwian, Land of Korat Ceramic

Visit Dan Kwian is one of "Things to do" for Korat visitors. Dan Kwian is a village in Dan Kwian District, around 15 kms from Korat downtown along the route to Chok Chai (Highway no. 224). Dan Kwian is a place where locals have been engaged in their Ceramic products manufacture for a long long time.


In the past, Dan Kwian village was a place where caravan stop between Nakhon Ratchasima and Cambodia, and all their vehicles were cart so it was caravan of carts stop, become a name of the village nowadays (Kwian means Cart / Dan Kwian means " bullock cart checkpoint " ). While they was stopping there, always made some utensils from local clay there and brought them home and found later of the special clay quality.

Nowadays the locals still make ceramics product from the local clay, a special black bronzed clay from The River Moun, and the ceramic products become one of the major export goods from Nakhon Ratchasima.

 

 

 

 

 

 

 

 

 


















ด่านเกวียน ชุมชนที่เป็นที่รู้จักและขึ้นชื่อแห่งหนึ่งในเรื่องของงานหัตถกรรมเครื่องปั้นดินเผา ภูมิปัญญาวิถีชาวบ้านที่ได้รับความนิยมมายาวนาน ไม่ว่าจะเป็นเครื่องมือเครื่องใช้ในชีวิตประจำวัน ตลอดจนเครื่องประดับตกอาคารบ้านเรือน ซึ่งผลงานแต่ละชิ้นล้วนแต่มีความประณีต สวยงาม และทรงคุณค่าแห่งงานศิลปกรรม

เพื่อการเผยแพร่คุณค่าทางศิลปะดั้งเดิมของเครื่องปั้นดินเผาด่านเกวียน และเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวให้มีชื่อเสียงโด่งดัง เทศบาลตำบลด่านเกวียนจึงจัดให้มีโครงการมหกรรมขบวนไฟประดับเครื่องปั้นดินเผา วิถีภูมิปัญญาด่านเกวียน ซึ่งเป็นอีกประเพณีหนึ่งที่มีความสำคัญของจังหวัดนครราชสีมา
ความเป็นมาของหมู่บ้านด่านเกวียน ด่านเกวียนเป็นตำบลขึ้นอยู่กับอำเภอโชคชัย จังหวัดนครราชสีมา เดิมอำเภอโชคชัยเป็นเมืองหน้าด่าน เรียกว่าด่านกระโทก อยู่ในเส้นทางการค้าระหว่างโคราชกับเขมร ต่อมาได้รับการยกฐานะเป็น "อำเภอกระโทก" เมื่อปีพ.ศ.2446 มีขุนอภัยรักษ์เขต (2446-2450) เป็นนายอำเภอคนแรก



ต่อมาในปี พ.ศ.2482 ทางราชการได้เปลี่ยนชื่อใหม่เป็น "อำเภอโชคชัย" เพื่อยกย่องวีรกรรมของพระเจ้าตากสินมหาราชเมื่อครั้งยกทัพมาปราบเจ้าเมืองพิมาย และได้รับชัยชนะ ณ บริเวณที่ตั้งอำเภอโชคชัยด่านเกวียน เป็นชุมชนขนาดใหญ่อยู่ริมฝั่งลำนำมูล ห่างจากอำเภอเมืองนครราชสีมาประมาณ 15 กิโลเมตร เมื่อสมัยก่อนเป็นที่พักของกองเกวียนบรรทุกสินค้าต่างๆ ที่จะเดินทางเข้ามาค้าขายระหว่างโคราชกับเขมร โดยผ่านนางรอง บุรีรัมย์ สุรินทร์ ขุขันธ์ ขุนหาญ จนถึงเขมร การทำเครื่องปั้นดินเผาด่านเกวียนมีมาตั้งแต่เมื่อใดไม่มีหลักฐานปรากฎแน่ชัด



บรรพบุรุษของชาวด่านเกวียนเล่าให้ฟังสืบๆกันมาหลายชั่วอายุคนว่าเดิมชาวด่านเกวียนมีอาชีพทำไร่ทำนาอยู่ริมฝั่งลำนำมูล และเรียนรู้การทำเครื่องปั้นดินเผามาจากชาวข่า ซึ่งเป็นชาวเขาเผ่าหนึ่ง ตระกูลมอญ-เขมร เป็นชนพื้นเมืองดั้งเดิมที่มีถิ่นฐานอาศัยอยู่แถบลุ่มแม่น้ำโขง โดยมีศูนย์กลางความเจริญอยู่ที่เมืองจำปาศักดิ์ ชาวข่าส่วนใหญ่ได้อพยพจากถิ่นฐานเดิมเข้ามาทำมาหากินในดินแดนแถบนี้และได้นำดินมาปั้นเป็นภาชนะและเผาไว้ใช้สอยในครัวเรือน เช่น โอ่ง กระถาง ไห ครก รอฝนยา เป็นต้น

ศูนย์รวมหัตถกรรมเครื่องปั้นดินเผาและของตกแต่งบ้าน ปัจจุบันหมู่บ้านเครื่องปั้นดินเผาด่านเกวียนมีชื่อเสียงมากในฐานะที่ผลิตเครื่องปั้นดินเผาได้สวยงามมีรูปแบบที่แปลกและหลากหลาย แต่ยังคงลักษณะดั้งเดิมของกรรมวิธีในการปั้นและใช้ดินจากริมฝั่งลำน้ำมูลที่เผาแล้วมีลักษณะเป็นสีสัมฤทธิ์ ที่มีเอกลักษณ์ของความเป็นเครื่องปั้นดินเผาด่านเกวียนไว้ดดยเฉพาะและได้พัมนารูปแบบผลิตภัณฑ์จากการปั้นเป็นภาชนะเพื่อใช้ในครัวเรือนมาเป็นเครื่องประดับ ของตกแต่งบ้าน จัดสวน ตลอดจนเป็นสินค้าส่งออกไปขายยังต่างประเทศ เป็นที่รู้จักของทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ

ปลายปี พ.ศ.2547 หมู่บ้านเครื่องปั้นดินเผาด่านเกวียนได้รับคัดเลือกให้เป็นหมู่บ้าน OTOP ต้นแบบ จากกรมการพัฒนาชุมชน ซึ่งเป็น1ใน4ของประเทศ และได้รับคัดเลือกให้เป็นหมู่บ้านท่องเที่ยว OTOP อีกด้วย

ขอบคุณข้อมูลจาก เทศบาลตำบลด่านเกวียน
Source : Dan Kwian municipality
Dan Kwian Plaza