Pratu Chum Phon or Chum Phon City Gate is the only original one left located in the west side of old town area behind Thao Suranaree Monument. It's be built during the reign of King Narai in 1656, made from large stones and bricks, covered with plaster.
On the top is a watchtower made of wood with a tiled roof and decorated in the Thai style.
Another 3 City Gates, were rebuilt, located in other 3 directions of the town.
Chai Narong City Gate in the south
.
ประวัติประตูเมืองในโคราช
สมัยกรุงศรีอยุธยา ในแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราช (พ.ศ. 2199-2231) โปรดให้สร้างเมืองสำคัญที่อยู่ชายแดนให้มี ป้อม ปราการ จึงให้ย้ายเมืองที่ ตำบลโคราช อำเภอสูงเนิน มาสร้างเมืองที่มีป้อมปราการและคูน้ำล้อมรอบขึ้นใหม่ ในที่ซึ่งเมืองโคราชตั้งอยู่ในปัจจุบัน เมืองนี้กำแพงก่อด้วยอิฐ มีใบเสมาเรียงรายตลอด มีป้อมกำแพงเมือง 15 ป้อม 4 ประตู สร้างด้วยศิลาแลง มีชื่อดังต่อไปนี้
- ทางทิศเหนือ ชื่อประตูพลแสน นัยหนึ่งเรียกประตูน้ำ
- ทางทิศใต้ ชื่อประตูชัยณรงค์ นัยหนึ่งเรียกประตูผี
- ทางทิศตะวันออก ชื่อประตูพลล้าน นัยหนึ่งเรียกประตูตะวันออก
- ทางทิศตะวันตก ชื่อประตูชุมพล
ประตูเมืองทั้ง 4 แห่งนี้ มีหอรักษาการอยู่ข้างบนทำเป็นรูปเรือน (คฤหาสถ์) หลังคามูงด้วยกระเบื้องดินเผามีช่อฟ้าใบระกาเหมือนกันทุกแห่ง ปัจจุบันคงเหลือรักษาไว้เป็นแบบอย่างแห่งเดียวเท่านั้น คือประตูชุมพล ซึ่งกรมศิลปากรได้ขึ้นบัญชีสงวนรักษาไว้เป็นโบราณสถานเมื่อ พ.ศ. 2480 นอกนั้นทั้งประตูและกำแพงเมืองได้ถูกรื้อสูญหมดแล้ว
ที่มา : หนังสือประวัติมหาดไทยส่วนภูมิภาค จังหวัดนครราชสีมา พ.ศ. 2526
- ทางทิศเหนือ ชื่อประตูพลแสน นัยหนึ่งเรียกประตูน้ำ
- ทางทิศใต้ ชื่อประตูชัยณรงค์ นัยหนึ่งเรียกประตูผี
- ทางทิศตะวันออก ชื่อประตูพลล้าน นัยหนึ่งเรียกประตูตะวันออก
- ทางทิศตะวันตก ชื่อประตูชุมพล
ประตูเมืองทั้ง 4 แห่งนี้ มีหอรักษาการอยู่ข้างบนทำเป็นรูปเรือน (คฤหาสถ์) หลังคามูงด้วยกระเบื้องดินเผามีช่อฟ้าใบระกาเหมือนกันทุกแห่ง ปัจจุบันคงเหลือรักษาไว้เป็นแบบอย่างแห่งเดียวเท่านั้น คือประตูชุมพล ซึ่งกรมศิลปากรได้ขึ้นบัญชีสงวนรักษาไว้เป็นโบราณสถานเมื่อ พ.ศ. 2480 นอกนั้นทั้งประตูและกำแพงเมืองได้ถูกรื้อสูญหมดแล้ว
ที่มา : หนังสือประวัติมหาดไทยส่วนภูมิภาค จังหวัดนครราชสีมา พ.ศ. 2526