Aug 10, 2009

Korat Cultural Leaders

Significent People & Cultural Leaders of Nakhon Ratchasima

PueyPhra Tevapinimmitr (1888-1942)



A major artist during the reigns of King Rama V to King Rama VII, he was the leader of the artists who painted the murals on the walls of the temple of the Emerald Buddha to celebrate the 150th anniversary of the founding of Bangkok. However, his most important work for the people of Nakhon Ratchasima was the design of the monument of Tao Suranaree which was later sculptured by Professor Silpa Pirasri.


พระเทวาภินิมมิต (พ.ศ. 2431-พ.ศ. 2485)

พระเทวาภินิมมิตเป็นศิลปินเอกท่านหนึ่งของไทยในสมัยรัชกาลที่ 5-7 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ชื่อเดิมว่า นายฉาย เทียมศิลป์ชัย เกิดที่บ้านโพธิ์ อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา บิดาเป็นกำนัน ชื่อกำนันแสง มารดาชื่อหมั่น เกิดปีชวด เดือนกันยายน พ.ศ. 2431 เมื่อเยาว์วัยเคยบวชเณร อยู่วัดพระนารายณ์มหาราช กับหลวงลุงชื่อ พระสมุห์ปาน ได้เรียนหนังสือและเรียนงานช่าง จากวัดนี้เมื่ออายุ ย่างเข้าสู่วัยหนุ่ม ได้รับการสนับสนุนจากพระอาจารย์บุญถึงให้ลงไปกรุงเทพฯ และได้เข้าถวายตัวเป็นมหาดเล็ก ในกรมหลวงสรรพศาสตร์ ศุภกิจ (พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงสรรพศาสตร์ศุภกิจ พระอนุชาในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว) ท่านรับราชการจนได้ บรรดาศักดิ์เป็นขุนนิมิตรเลขา ต่อมาได้เลื่อนขึ้นเป็น หลวงนิมิตเลขาในปลายรัชสมัยรัชกาลที่ 6 และเป็นพระเทวาภินิมมิต ในรัชสมัยรัชกาลที่ 7 ท่านเสียชีวิตในปีพุทธศักราช 2485 ที่บ้านในจังหวัดนครราชสีมา รวมอายุ 54 ปี

ท่านรับราชการเป็นช่างเขียนสามัญในกรมช่างข้างในพระองค์ สังกัดกระทรวงวังตั้งแต่เดือนมกราคม พุทธศักราช 2455 สถานที่ทำงานตั้งอยู่ชั้นล่างของพระที่นั่งจักรีมหาปราสาท เป็นกองช่างเขียนเฉพาะพระองค์พระบาทสมเด็จพระจุลตจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยมีพระเจ้าน้องยาเธอกรมหลวงสรรพศาสตร์ศุภกิจเป็นผู้กำกับการ ต่อมาเมื่อกิจการขยายกว้างขวางขึ้น จึงขอพระบรมราชานุญาต ย้ายออกมาตั้งอยู่ที่วังของกรมหลวงสรรพศาสตร์ศุภกิจ ที่ถนนบ้านตะนาว แต่ยังคงเรียกชื่อว่า “กรมช่างข้างใน”

หลังพิธีบรมราชาภิเษก รัชกาลที่ 6 กรมช่างข้างในถูกยุบก่อตั้งเป็นกรมศิลปากรขึ้น ณ ตึกดิน ถนนดินสอ ท่านได้โอนไปอยู่ในกรม ศิลปากรดำรงตำแหน่งช่างเขียนชั้น 3 หัวหน้ากองช่างไทย ท่านรับราชการอยู่ในกรมศิลปากรด้วยความขยันหมั่นเพียรจนได้รับบรรดาศักดิ์ เป็นขุนนิมิตเลขา ศักดินา 500 ไร่ ต่อมาได้เลื่อนขึ้นเป็น หลวงนิมิตเลขา ในปลายรัชสมัยรัชกาลที่ 6 และเป็นพระเทวาภินิมมิตในรัชสมัย รัชกาลที่ 7 มีตำแหน่งครั้งสุดท้ายเป็นหัวหน้าแผนกตำรา กองหัตถศิลป กรมศิลปากร ท่านได้ลาออกจากราชการเมื่อปีพุทธศักราช 2478

พระเทวาภินิมมิต มีผลงานทางศิลปะมากมาย ที่สามารถสืบค้นและรวบรวมได้คือ

เป็นแม่กองเขียนภาพจิตรกรรมฝาผนัง ที่พระระเบียงวัดพระศรีรัตนศาสดาราม (วัดพระแก้ว) ในคราวปฏิสังขรกรุงเทพฯ ครบ 150 ปี พุทธศักราช 2475 ซึ่งต้องลบของเดิมออกแล้วเขียนใหม่

งานเขียนรูปแม่พระธรณีรีดมวยผม เพื่อให้ปฏิมากรปั้น แล้วนำไปประดิษฐานไว้ใกล้ ๆ กับสะพานผ่านพิภพลีลา

ได้เขียนแบบตราพระราชสัญจกร ประจำรัชกาลที่ 6

เป็นแม่กองเตรียมงานพระบรมราชาภิเษก พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูหัว รัชกาลที่ 7 และได้ออกแบบอักษร พระปรมาภิไธย ป.ป.ร. ไขว้ สำหรับทำตรา และเหรียญ

ออกแบบและกำกับการสร้างพระแสงดาบญี่ปุ่น ลงยาฝังเพชรที่กองช่างหลวงกระทรวงวัง

แต่ยังมีผลงานที่ชาวจังหวัดนครราชสีมาไม่อาจลืมได้ คือ การร่วมออกแบบรูป ท้าวสุรนารี ร่วมกับ ศาสตราจารย์ศิลปพีระศรี โดยศาสตราจารย์ศิลป พีระศรี เป็นผู้ปั้น แล้วนำมาประดิษฐานที่หน้าประตูชุมพล คนทั่วไปเมื่อเห็นรูปปั้นนี้จะสรรเสริญในฝีมือ การปั้นของศาสตรจารย์ศิลป พีระศรี แต่มีน้อยรายที่ทราบว่า ฝีมือการออกแบบและเขียนรูปดั้งเดิม ก่อนจะมาเป็นรูปปั้นนี้เป็นฝีมือ ของพระเทวาภินิมมิต ศิลปินชาวโคราชนี่เอง

เมื่อเยาว์วัยเคยบวชเณร อยู่วัดนารายณ์มหาราช ได้เรียนหนังสือและเรียนงานช่างจากวัดนี้ เมื่ออายุย่างเข้าสู่วัยหนุ่มได้เข้าถวายตัวเป็นมหาดเล็กในกรมหลวงสรรพศาสตร์ศุภกิจ รับราชการ เป็น ช่างเขียนสามัญในกรมช่างข้างในพระองค์ สถานที่ทำงานตั้งอยู่ชั้นล่างของพระที่นั่งจักรี มหาปราสาท เป็นกองช่างเขียนเฉพาะพระองค์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อก่อนตั้งเป็นกรมศิลปากรขึ้น ณ ตึกดิน ถนนดินสอ ท่านได้โอนไปอยู่ในกรมศิลปากร ดำรงตำแหน่งช่างเขียนชั้น 3 หัวหน้ากองช่างไทย ผลงานของท่าน อาทิ แม่กองเขียนภาพจิตรกรรมฝาผนัง ที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม

http://kanchanapisek.or.th/kp8/nrs/nrs202.html

--------------------------------------------------------------------------------------

Wirote Srisuro (1939 - 2008)

Wirote Srisuro received his Bachelors Degree in Architecture from Chulalongkorn University and is now a professor of Architecture at Khon Kaen University.

One of his masterpieces is the design of Wat Sala Loi which was received a distinguished architecture award from the Architectural Society in 1973. Moreover, he restored Dan Gwien pottery and made it more usable. He did research on tools, wickerworks, plaiting, sculpting as well as collected ox-carts from all over the country and founded his personal ox-cart museum in Chok Chai District. He also established the Farmers Artwork Center exhibiting farmers tools and utensils with his own money. He wrote a number of books on architecture in the northeastern part of the country as well.

Some of his awards include an honorary doctoral degree in architecture from Chulalongkorn University in 1991 and best research award from the National Research Commission.


วิโรฒ ศรีสุโร

รศ.ดร.วิโรฒ ศรีสุโร ได้ศึกษาค้นคว้าและเผยแพร่ความรู้ทางวัฒนธรรมอีสาน จนเป็นที่ยอมรับ และได้รับรางวัลพระสิทธิธาดาทองคำ ผู้มีผลงานดีเด่นทางวัฒนธรรม[1] และรางวัลสถาปนิกดีเด่น[2] เกิดวันที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2482 สถานที่เกิด อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี ที่อยู่บ้าน ร้านดินดำ ตำบลด่านเกวียน ถนนราชสีมา-โชคชัย อำเภอโชคชัย จังหวัดนครราชสีมา


วิโรฒ ศรีสุโร เริ่มรับราชการเป็นครูตรี สังกัดวิทยาลัยเทคนิคนครราชสีมา ต่อมาในปี พ.ศ. 2518 จึงได้รับการแต่งตั้งเป็นอาจารย์วิทยาลัยเทคนิคภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จากนั้นในปี พ.ศ. 2532 จึงโอนมาสังกัดคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น จนได้รับตำแหน่ง รองศาสตราจารย์ ระดับ 9 กระทั่งปี พ.ศ. 2544 จึงได้ริเริ่มก่อตั้งคณะศิลปประยุกต์และการออกแบบ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี และเป็นคณบดีคนแรกของคณะ[

จากการเดินทางศึกษาศิลปะพื้นบ้านในภาคอีสานตลอดเวลากว่า 30 ปี ได้เห็นคุณค่าของวัฒนธรรมพื้นบ้านอีสาน โดนเฉพาะผลงานด้านสถาปัตยกรรม เช่น สิม(อุโบสถ) ซึ่งได้ถูกรื้อถอนทำลายอย่างมากมาย จึงเกิดแรงบันดาลใจที่จะศึกษารวบรวมและทำวิจัย จนเกิดเป็นรูปเล่มในหนังสือชื่อ "สิมอีสาน" ซึ่งได้รางวัลวิจัยดีเด่นแห่งชาติ จากสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (2540) จากความมุ่งมั่นศึกษารูปลักษณ์สถาปัตยกรรมพื้นถิ่นอีสานจึงก่อให้เกิดงานสถาปัตยกรรมประยุกต์เพื่อรับใช้สังคมปัจจุบัน อาทิ เช่นอุโบสถ วัดศาลาลอย จังหวัดนครราชสีมา ,สถาบันวิจัยศิลปวัฒนธรรม ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม เป็นต้น ซึ่งนับเป็นการประยุกต์รูปแบบสถาปัตยกรรมอีสานให้เกิดเป็นเอกลักษณ์ในงานสถาปัตยกรรมร่วมสมัย

การสร้างสรรค์เผยแพร่ผลงานต่อสาธารณชนในประเทศและต่างประเทศ

1.พระอุโบสถวัดศาลาลอย อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา (2520)

2.พระธาตุวัดศรีมงคล บ้านธาตุ อำเภอวาริชภูมิ จังหวัดสกลนคร (2525)

3.อนุสาวรีย์ พระยาชัยสุนทร อำเภอเมือง จังหวัดกาฬสินธุ์ (2527)

4.ซุ้มประตูวัดสว่าง อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา (2528)

5.ศาลาทรงอีสาน วัดญาณสังวรา อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี (2530)

6.อาคารที่ทำการ กรรมาธิการสถาปนิกอีสาน คณะสถาปัตยกรรมศาตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น (2531) สถาปนิกร่วม รศ.ธิติ เฮงรัศมี

7.พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น ศูนย์วัฒนธรรม จังหวัดเลย (2533)

8.พระธาตุหลวงปู่ ชามา อจุตโต วัดใหม่อัมพวัน บ้านไร่ม่วง อำเภอเมือง จังหวัดเลย (2534)

9.สถาบันวิจัยค้นคว้าศิลปวัฒนธรรมอีสาน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม จังหวัดมหาสารคาม (2535)

10.ป้ายชื่อ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม จังหวัดมหาสารคาม (2536)

11.หอพระ สถาบันวิจัยศิลปะและวัฒนธรรมอีสาน มห่วิทยาลัยมหาสารคาม (2536)

12.หอแจก วัดพระพุทธบาท อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี (2538) (อยู่ระหว่างดำเนินการ)

13.อาคารและสวนวัฒนธรรมอีสาน ร้านพระธรรมขันธ์ อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี (2538) (อยู่ระหว่างดำเนินการ)

14.พิพิธภัณฑ์ศิลปวัฒนธรรม วัดเจติยภูมิ (พระธาตุขามแก่น) อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น (2539) (อยู่ระหว่างดำเนินการ)

15.อาคารศตวรรษมงคล ขอนแก่นวิทยายน 100 ปี (2539) (อยู่ระหว่างดำเนินการ)

16.ซุ้มประตูทางเข้าค่าย "เปรม ติณสูลานนท์" อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น (2539)

17.อาคารปฏิบัติธรรมและพิพิธภัณฑ์ หลวงพ่อมหาธนิต ปัญญาปสุโต (ป.๙) (2540)

18.พระอุโบสถวัดศรีมงคล บ้านธาตุ อำเภอวาริชภูมิ จังหวัดสกลนคร (2540) สถาปนิกร่วม นายประวัติ บุญรักษา

19.พลับพลารับเสด็จสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว แขวงนครเวียงจัน สปป.ลาว(2540) สถาปนิกร่วมนาย พงศ์พันธ์ พิศาลสารกิจ

20.วิหารพระเจ้าใหญ่อินแปง วัดมหาวนาราม (วัดป่าใหญ่) อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี (2540)(อยู่ระหว่างดำเนินการ)

21.สำนักปฏิบัติธรรม สาขาวัดประโดก อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา (2540) (อยู่ระหว่างดำเนินการ)

22."ธาตุมรรค๘ - โบสถ์บนหอแจก" วัดป่ากุฉิธรรมวาส อำเภอกุฉินารายณ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ (2541)(อยู่ระหว่างดำเนินการ)

23.หอศิลปวัฒนธรรมและเวทีแสดงกลางแจ้ง มหาวิทยาลัยขอนแก่น อำดภอเมือง จังหวัดขอนแก่น (2542) สถาปนิกร่วม รศ.ธิติ เฮงรัศมี

24.อาคารรับพระราชทานปริญญาบัตร มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี (2545) อยู่ระหว่างดำเนินการ

25.ป้ายชื่อมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี

26.อาคารสถาบันวิจัยวัฒนธรรมลุ่มน้ำโขง (อาคารมรรค๘) มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี (2547) (อยู่ระหว่างดำเนินการ)

27.อาคารเรียนคณะศิลปประยุกต์และออกแบบ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี (2548)

28.อาคารเรียนโครงการจัดตั้งคณะนิติศาสตร์และรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี (2548)(อยู่ระหว่างดำเนินการ)

29.อาคารพระปทุมราชวงศา วัดหลวง อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี (2548) (อยู่ระหว่างดำเนินการ)

http://th.wikipedia.org/
--------------------------------------------------------------------------------------

Kriangsak Kanchanaritthakorn
Thai wisdom teacher in philosophy, religion and tradition


Kriengsak Kanjarithaporn was born on 16th November 1927 in Nakorn Ratchasima. He graduated a Bachelor Degree from Nakorn Ratchasima Teachers College. Poverty in his childhood has nurtured Mr. Kriangsak to be economical, starting from organizing his personal belonging into categories to northeastern utensils harder to find everyday.

These stuffs have lighted up Mr. Kriangsak to study the background and related traditions in details until he understands and treasures the beliefs, culture and traditions of northeastern people.

Wishing to transfer this feeling to the younger generation, he opened his house for visitors and transferred his knowledge by using antiques he has collected as medium. Later he officially developed the house into museum and cultural center of Chakarat District, Nakhon Ratchasima Province, visited by lots of interested people, of which number is compatible with his collection.

http://www.pttplc.com/Files/Document/energy_mag/46_2/good_teachers.pdf
http://www.culture.go.th/

นายเกรียงศักดิ์ กาญจนฤทธากรณ์

ครูภูมิปัญญาไทยรุ่น 2 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ด้านภาษาและวรรณกรรม (พิพิธภัณฑ์) โดยคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2544

ครูเกรียงศักดิ์ จบการศึกษาวุฒิครู ป. พ.ศ.2490 โรงเรียนฝึกหัดครูโนนสูง และวุฒิครู ค.บ.(เอกประถมศึกษา) พ.ศ.2523 วิทยาลัยครูนครราชสีมา

เคยทำงานดำรงตำแหน่งเป็นครูใหญ่วัดตะกุดเครือปลอก อำเภอจักราช จังหวัดนครราชสีมา และเคยดำรงตำแหน่งผู้ช่วยผู้อำนวยการโรงเรียนสุขานารี

ปัจจุบันเป็นประธานศูนย์วัฒนธรรมอำเภอจักราช โดยจัดบ้านและสิ่งของโบราณส่วนตัว ให้เป็นศูนย์วัฒนธรรมอำเภอจักราช เป็นประธานสภาอำเภอจักราช

ประธานชมรมผู้สูงอายุ ประธานชมรมครูบำเหน็จบำนาญอำเภอจักราช และเป็นแพทย์โบราณ สอบได้วุฒิเวชกรรมแผนโบราณ พ.ศ.2546

ความยากจนในวัยเด็กช่วยบ่มเพาะให้ครูเกรียงศักดิ์มีนิสัยช่างเก็บออมมาโดยตลอด เริ่มจากการเก็บข้าวของส่วนตัวอย่างเป็นหมวดหมู่จนกระทั่งการเก็บสิ่งของเครื่องใช้ของชาวอีสานซึ่งนับวันจะหายากขึ้นทุกที ข้าวของเหล่านี้จุดประกายให้ครูค้นคว้าหาความรู้ ความเป็นมา ขนบธรรมเนียมประเพณีที่เกี่ยวข้องอย่างลึกซึ้ง จนเกิดความเข้าใจและปรารถณาจะสืบสานความรู้สึกนี้สู่คนรุ่นหลัง จึงได้เปิดบ้านเป็นพิพิธภัณฑ์และศูนย์วัฒนธรรมของอำเภอจักรราช จังหวัดนครราชสีมา มีผู้สนใจมาศึกษาค้นคว้าเยี่ยมชมอย่างมากมาย

http://www.arc.nrru.ac.th/dg/alum008.html
http://www.pttplc.com/Files/Document/energy_mag/46_2/good_teachers.pdf